วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

image-2210_50127AAC.jpg


AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาว เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน
จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค. 2546 ผู้นาประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยปกติที่เรากล่าวถึง AEC นั้นเป็นเพียงแค่ส่วนเดียวของทั้งหมด เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วสามารถแบ่งได้ ดังภาพด้านล่าง
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Asean socio cultural community:ASCC)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Asean security community :ASC)
ในภาพรวมของประชาคมอาเซียนนั้น เราไม่ได้มุ่งเน้นไปเพียงด้านเศรษฐกิจ แต่ยังรวมถึงความมั่นคง และวัฒนธรรมอีกด้วย (ดังภาพที่อธิบายข้างต้น)
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน มี ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน
image-C0A2_50127AAC.jpg
Target on Blueprint AEC 2558
อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดาเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า โดยมีเป้าหมายหลักๆดังนี้
1.เป็นตลาดเดียว ฐานการผลิตร่วม (สินค้า, บริการ, การลงทุน, แรงงานและเงินทุน)
2.สร้างขีดความแข่งขันให้กับประเทศสมาชิก
3.พัฒนาเศรษฐกิจให้เสมอภาค ลดช่องว่างในประเทศสมาชิกด้วยกันเอง
4. บูรณาการกับเศรษฐกิจโลก กับการรวมกลุ่มอื่นๆ
ร่วมเป็นหนึ่งเดียว
ข้อที่สำคัญที่สุด ไม่เพียงแค่การรวมเป็นตลาด ตลาดเดียวเท่านั้น ในนี้ยังรวมถึง เพื่อเพิ่มฐานการผลิต การขยายฐานแรงงาน การลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ การรวมกลุ่มเป็นกำลังสำคัญเดียวกัน ยังรวมทั้ง การศึกษา แรงงาน เงินลงทุน ฯลฯ
สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ร่วมมือกันเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและการต่อรองระหว่างกลุ่ม เช่น กลุ่มยูโรป กลุ่มอเมริกา กลุ่มตะวันออกกลาง เป็นต้น ทำให้เกิดอำนาจการต่อรอง สามารถเจรจา
พัฒนาเศรษฐกิจให้เสมอภาพ
เพื่อลดความเลื่อมล้ำ ช่องว่างในประเทศสมาชิก รวมพัฒนาศักยภาพ แบ่งปันความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนา และความเสมอภาคโดยทั่ว
บูรณการกับเศรษฐกิจโลก
จะเห็นได้จาก ภูมิภาคต่างๆ ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อเปิดเขตการค้า และรวมกันพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งนี้เศรษฐกิจจะเปลี่ยนไปเป็นระหว่างกลุ่ม มากกว่า ประเทศกับประเทศ
AEC on IT
image-61B9_50127AAC.jpg
ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ จะมีรูปแบบเศรษฐกิจหลักที่เน้นไปทางด้านเกษตรกรรม ซึ่งจะมี 2 ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันด้านไอที หากเทียบกับประเทศไทย ได้แก่ ประเทศ Philippine และ ประเทศ Singapore เราจะพิจารณาแต่ละประเทศดังนี้
ประเทศ Philippine
ข้อได้เปรียบ
• คุณภาพแรงงานไอทีมีจำนวนมาก
• พัฒนาส่งออกไอทีได้ในเวลาสั้น
• ประชาดรมีความรู้ด้านไอที
• ใช้ภาษาอังกฤษ
ข้อเสียเปรียบ
• Corruption สูง
• มีการเปลี่ยนกฏเกณฑ์ของราชการสม่ำเสมอ ยุ่งยาก
• สาธารณูปโภคพื้นฐานแย่
• ประชากรเฉื่อยชา
เนื่องจาก Philippine มีแรงงานทางด้านไอทีจำนวนมาก หากเปิด AEC ทาง Philippine พัฒนาอีกไม่เยอะ ก็สามารถส่งออกบุคลกรในด้านนี้ได้ดีขึ้น ด้านภาษา พื้นฐานของประเทศ Philippine นั้นใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ ทำให้มีข้อได้เปรียบทางด้านภาษา
ข้อเสียเปรียบของ Philippine นั้น เกี่ยวกับเรื่อง corruption และกฏเกณฑ์ของราชการ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังไม่ได้มาตรฐาน อีกทั้งมีผลวิจัยประกอบว่า ประชากรในประเทศมีการทำงานอย่างเฉื่อยชา
ประเทศ Singapore
ข้อได้เปรียบ
• มีโครงการโลกาภิวัตน์ อัจฉริยะนคร 2015 (สารสนเทศและการสื่อสาร)
• การใช้สารสนเทศน์และการสื่อการเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างมีนัยสำคัญ
• ใช้ภาษาอังกฤษ
• บริษัท ธุรกิจใช้ Internet แพร่หลายที่สุดใน AEC
ข้อเสียเปรียบ
• ตลาดเล็ก
• ทรัพยากรน้อย
พื้นฐานของประเทศ Singapore นั้นจะเป็นประเทศ trading ซึ่งทำให้เรื่อง IT นั้น ประเทศ Singapore จัดอยู่ลำดับต้นๆ อีกทั้งยังมีโครงการโลกาภิวัฒน์ อัจฉริยะนคร ซึ่งทำให้เกิดข้อได้เปรียบเพิ่มมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจของประเทศใช้ IT เข้ามาช่วยเป็นพื้นฐาน ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐาน รวมทั้งยังสามารถพูดภาษาอื่นๆ ได้ หากเปรียบเทียบการเข้าถึง internet / ประชากร ประเทศ Singapore จัดได้ว่าเป็นประเทศที่ประชากรเข้าถึง internet มากที่สุดในภูมิภาคนี้ อาจจะด้วยโครงสร้างพื้นฐาน และข้อได้เปรียบเรื่องขนาดประเทศ
เนื่องจากขนาดประเทศ Singapore มีขนาดเล็กกว่า ทำให้ธุรกิจภายในประเทศ Singapore อาจจะไม่เพียงพอจำเป็นต้องส่งออกมาขายยังประเทศอื่นๆ และทรัพยากรของประเทศมีน้อย
ประเทศ Thailand
จุดแข็ง
• โอกาสของ SME (E-commerce)
• ไม่ขาดแรงงานมีฝีมือ
• สาธารณูปโภคทั่วถึง
• เป็นผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่หลายรายการ
• ระบบธนาคารเข้มแข็ง
• การดำเนินงานตามแผนการปรับตัวสู่ AEC มีความล้ำหน้ากว่าแผน (แสดงถึงภาครัฐเตรียมการจริงจัง)
• มีความสามารถการแพทย์เป็นอันดับต้น และเป็นที่ยอมรับ ซึ่งนำไปสู่เทคโนโลยีทันสมัยและระบบสารสนเทศน์ต่างๆ
• การสนับสนุน BOI ไม่ค่อยมีข้อจำกัดกับชาวต่างชาติ (ICT เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สนับสนุน
ในโครงการ BOI)
• บางประเทศเปิดเสรีให้ลงทุนธุรกิจโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ โดยสามารถให้ต่างชาติถือหุ้น 100% เช่น ลาว หม่า สิงค์โปร
• การขนส่ง EWEC (East-West Economic Corridor )
image-EA85_50127AAC.jpg
จุดอ่อน
• ภาษา
• ปัญหาสังคม อาชญากรรม
• สมองไหล (ไปสิงค์โปร-โดนมาแย่งงาน)
• เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นกลาง
• การเมืองไม่มั่นคง
• การละเมิดสินทรัพย์ทางปัญญา
• การเผชิญกับค่าแรงต่ำกว่า(ของเราแพง)
ประเทศไทย
โอกาสของ SME เพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่อุตสาหกรรมหนักของประเทศไทย มีสัดส่วนที่น้อยกว่าสัดส่วนส่วนใหญ่ของธุรกิจในประเทศไทยจะเป็น SME ซึ่งหมายถึง ขนาดของตลาดที่จะมีมากขึ้น (ทั้ง AEC) ซึ่งภาครัฐบาลสนับสนุนในการรวมกลุ่ม และช่วยเหลือ SME เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น
เมื่อเปิด AEC ตลาดแรงงานน่าจะมีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ และแรงงานที่มีฝีมือจะเข้ามาเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามา จะเข้ามาถูกกฏหมายหลังเปิด AEC
สาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศไทย ได้แก่ ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ระบบสายโทรศัพท์ การให้บริการในส่วนนี้จะช่วยดึงดูดนักลงทุน และเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนในประเทศ (หากเทียบกับ Philippine ซึ่งมีสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ด้อยกว่าเรา)
การเงิน การธนาคารในประเทศไทยนั้นมีจุดแข็ง ยิ่งเปรียบเทียบกับในตลาดภูมิภาคนี้ จะพบว่าสถาบันการเงินของประเทศไทยนั้นได้เรทติ้งดีกว่าหลายๆสถาบันทางการเงิน ซึ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ทั้งนักลงทุน และประชากร
ทางการแพทย์ในภูมิภาคนี้ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศไทย ได้รับการยอมรับ ว่ามีบุคลากรทางการแพทย์ที่ดี ซึ่งจะมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า
(เคส: มีการจัดทัวร์จากประเทศเพื่อนบ้านเรา เข้ามารักษาพยาบาลตามเมืองใหญ่ๆในประเทศไทย ซึ่งมีการรักษาที่ดีกว่า และคุ้มค่ามากกว่า หากเทียบกับการรักษาตัวภายในประเทศ อีกทั้งชาวตะวันออกกลางมีการเข้ามารักษาตัวในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ในโรงพยาบาลที่เปิดการรักษาระดับนานาชาติ ข้อเสีย คือ คนต่างชาติมาใช้ภาษีของคนในประเทศในการรักษา)
รัฐบาลสนับสนุนการลงทุน และสนับสนุนทางด้าน BOI และ ICT เป็นหัวข้อใหญ่หัวข้อหนึ่งที่ทางรัฐบาลจะให้การสนับสนุน
การลงทุนในต่างประเทศนั้น ประเทศลาว พม่า สิงคโปร์ ที่ยังคงมีนโยบายที่ให้ต่างชาติไปลงทุนในประเทศเหล่านั้น โดยการถือหุ้นได้ 100% จัดได้ว่าเป็นความท้าทายต่อธุรกิจของประเทศไทย ในการเข้าไปลงทุน
มีการลงทุน EWEC (East-West Economic Corridor) เส้นทางส่วนใหญ่จะพาดผ่านประเทศไทย ซึ่งความเจริญทั้งทางด้าน logistic และ technology น่าจะถูกนำมาใช้พร้อมกันสำหรับโครงการนี้
จุดอ่อน
ทางด้านภาษาน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญเนื่องจาก เทคโนโลยีต่างๆที่เข้ามา ทั้งคู่มือ ขั้นตอนต่างๆ ถูกเขียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ และประชากรของประเทศมีปัญหาในการใช้ภาษาในการสื่อสาร
ปัญหาสังคม และอาชญากรรม หลังจากการรวม AEC แล้ว ประชากรสามารถประกอบธุรกิจได้กว้างขวาง ฐานะความเป็นอยู่ของประชากรน่าจะลดหลั่นกันอย่างชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งการเปิดเสรีในการเดินทางภายในภูมิภาค ประชากรใน AEC เพิ่มมากขึ้น แนวโน้มอาชญากรรมก็จะสูงขึ้น และประเทศไทยยังขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
ปัญหาสูญเสียบุคลากรที่มีฝีมือ (สมองไหล) เนื่องจากผลตอบแทน และสภาพความเป็นอยู่ต่างๆ ที่บุคลากรอาจจะย้ายไปยังประเทศที่ให้ผลตอบแทน และอื่นๆ ที่ดีกว่า แต่ก็มีกรณีที่บุคลากรต่างชาติ อยากเข้ามาทำงานกับประเทศมากขึ้น
ส่วนเสริมประเทศไทยยังคงต้องปรับตัวเพิ่มเติมจากเหตุผลต่างๆ ที่ยกมาประกอบ เพื่อป้องกันปัญหาที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในหลายๆข้อ
Discussion
ประเทศไทยควรมีการเตรียมความพร้อมด้าน ICT สำหรับการเปิด AEC อย่างไร
ประเทศไทยจัดได้ว่าเป็นประเทศที่ผลิต ชิ้นส่วน ICT ได้เป็นอันดับต้น (ทราบจากเหตุการณ์น้ำท่วมซึ่งส่งผลกระทบบต่ออุปกรณ์ ICT) ปัญหาหลักๆของประเทศไทยน่าจะมาจาก corruption ซึ่งนโยบายต่างๆของรัฐบาลค่อนข้างล่าช้า และไม่มีความชัดเจน หากเทียบกับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีความโปร่งใสมากกว่า และนโยบายต่างๆที่ชัดเจนกว่า ประเทศไทยควรจะพัฒนาในด้าน logistic เพื่อให้แข่งขันกับประเทศสิงคโปร์ได้มากขึ้น
พยายามสร้างแบรนด์ของประเทศไทย เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ เพราะประเทศไทยเป็นผู้นำทางการส่งออกผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์
โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีเทียบกับประเทศอื่นๆ เราควรพัฒนาการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของประชากร การโทรคมนาคมควรพัฒนาเรื่องเครือข่าย แรงงานฝืมือควรพัฒนาศักยภาพ หรือคุณภาพฝืมือแรงงาน (ในการนำเสนอทุกครั้ง ควรใช้ข้อมูลที่ชัดเจนประกอบ ตัวอย่าง เช่น จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์ จำนวนการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต – ควรมีเอกสารข้อมูล support)
ความหมายของ AEC คือ ไม่มีกำแพงทางด้านภาษีของสินค้า ไม่มีกำแพงทางด้านภาษีของการนำเข้า-ส่งออก ซึ่งช่วยในกรณี e-Commerce
เราควรสร้างมาตรฐานของแรงงานทุกด้านก่อนเปิด AEC เพราะว่าการไหลเวียนของแรงงานนั้นไม่ชัดเจน
ประเด็น 3G ของประเทศไทย เราควรมีการจำกัดผู้ถือหุ้นต่างชาติในการเข้ามาประมูลการถือใบอนุญาตหรือไม่
ประเทศพม่า ไม่จำกัดผู้ถือหุ้นต่างชาติ ในประเทศไทยนั้นยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ กรณีของบริษัทที่เข้าประมูล 3G ในประเทศไทยนั้น บริษัทที่จะเข้ามาประมูลการถือใบอนุญาตนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศไทยหรือไม่ มีข้อกังวลต่างๆ ซึ่งมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางของนักวิชาการ
การให้บริษัทต่างชาติเข้าประมูลการถือใบอนุญาติอาจจะเสี่ยงต่อความมั่นคง เช่น การยกเลิกการให้บริการ
การกีดกัน
- ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน
- เสียโอกาสที่จะเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ของบริษัทต่างชาติ

Template by:

Free Blog Templates